เมนู

[อรรถาธิบายบุปผวิกัติ 6 ชนิด]


ในการร้อยดอกไม้ทั้งหลายมีการร้อยตรึงเป็นต้น ผู้ศึกษาพึงทราบ
บุปผวิกัติทั้งหมด 6 ชนิด คือ คณฺฐิมํ ร้อยตรึง 1 โคปฺปิมํ ร้อยควบ
หรือร้อยคุม 1 เวธิมํ ร้อยแทงหรือร้อยเสียบ 1 เวฐิมํ ร้อยพันหรือ
ร้อยผูก 1 ปูริมํ ร้อยวง 1 วายิมํ ร้อยกรอง 1. บรรดาบุปผวิกิติ 6
ชนิดนั้น ที่ชื่อว่า คัณฐิมะ พึงเห็นในดอกอุบลและดอกปทุมเป็นต้นที่มี
ก้าน หรือในดอกไม้ทั้งหลายอื่นที่มีขั้วยาว. จริงอยู่ ดอกไม้ที่ร้อยตรึง
ก้านกับก้าน หรือขั้วกับขั้วนั่นเอง ชื่อ คัณฐิมะ. แม้คัณฐิมะนั้น ภิกษุ
หรือภิกษุณีจะทำเองก็ดี ใช้ให้ทำด้วยถ้อยคำเป็นอกัปปิยะก็ดี ย่อมไม่ควร.
แต่จะใช้ให้ทำด้วยกัปปิยวาจาเป็นต้นว่า จงรู้อย่างนี้, ทำได้อย่างนี้แล้วจะ
พึงงาม, จงทำดอกไม้ทั้งหลายเหล่านี้ ไม่ให้กระจัดกระจาย ดังนี้ ควรอยู่.
การเอาด้าย หรือปอเป็นต้น ร้อยคุมดอกไม้มีดอกมะลิเป็นต้น
ด้วยอำนาจระเบียบดอกไม้มีขั้วข้างเดียวและมีขั้วสองข้าง (ด้วยอำนาจมาลัย
ต่อก้านและมาลัยเรียงก้าน) ชื่อว่า โคปปิมะ. คนทั้งหลายทบปอ หรือ
เชือกเป็นสองเส้น และร้อยดอกไม้ไม่มีขั้วเป็นต้นในปอ หรือเชือกนั้น
แล้วขึงไว้ตามลำดับ, เเม้ดอกไม้นี้ ก็ชื่อว่า โคปปิมะ เหมือนกัน.
โคปปิมะทั้งหมด ไม่ควรโดยนัยก่อนเหมือนกัน.
ที่ชื่อว่า เวธิมะ คือ ดอกไม้ที่คนทั้งหลายเสียบดอกไม้ที่มีขั้ว มี
ดอกมะลิเป็นต้นที่ขั้ว หรือเสียบดอกไม้ที่ไม่มีขั้ว มีดอกพิกุลเป็นต้น
ภายในช่องดอก ด้วยเสี้ยนตาลเป็นต้น แล้วร้อยไว้นี้ ชื่อว่า เวธิมะ.
แม้ดอกไม้นั้น ก็ไม่สมควร โดยนัยก่อนเหมือนกัน.
ก็คนบางคนเอาหนาม หรือเสี้ยนตาลเป็นต้นปักที่ต้นกล้วยแล้ว

เสียบดอกไม้ไว้ที่หนามเป็นต้นนั้น. บางพวกเสียบดอกไม้ไว้ที่กิ่งไม้มี
หนาม. บางพวกเสียบดอกไม้ไว้ที่หนาม ซึ่งปักไว้ที่ฉัตรและฝา เพื่อ
กระทำฉัตรดอกไม้และเรือนยอดดอกไม้. บางพวกเสียบดอกไม้ไว้ที่หนาม
ซึ่งผูกไว้ที่เพดานธรรมาสน์ บางพวกเสียบดอกไม้มีดอกกรรณิการ์
เป็นต้น ด้วยซี่ไม้ และกระทำให้เหมือนฉัตรซ้อนฉัตร. ดอกไม้ที่ทำ
อย่างนั้นโอฬารยิ่งนักแล.
ก็การที่จะผูกหนามไว้ที่เพดานธรรมาสน์ เพื่อเสียบดอกไม้ก็ดี จะ
เสียบดอกไม้ดอกเดียวด้วยหนามเป็นต้นก็ดี จะเอาดอกไม้เสียบเข้าใน
ดอกไม้ด้วยกันก็ดี ไม่ควร. ก็การจะแซมดอกไม้ทั้งหลายไว้ในช่องแห่ง
เพดานตาข่าย ชุกชี ฟันนาค (กระจัง) ที่วางดอกไม้เเละช่อใบตาล
เป็นต้น หรือว่า ในระหว่างช่อดอกอโศก ไม่มีโทษ. เพราะดอกไม้
อย่างนั้นไม่จัดเป็นเวธิมะ. แม้ในเชือกธรรมดา(เชือกสำหรับเสียบดอกไม้)
ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.
ดอกไม้ที่มีชื่อว่า เวฐิมะ พึงเห็นในพวงดอกไม้เเละกำดอกไม้.
อธิบายว่า คนบางพวก เมื่อจะทำพวงดอกไม้แขวนยอด (ธรรมาสน์
เป็นต้น) จึงร้อยดอกไม้ทั้งหลาย* เพื่อแสดงอาการเป็นพุ่มอยู่ภายใต้
บางพวกมัดดอกอุบลเป็นต้นที่ก้านอย่างละ 8 ดอกบ้าง อย่างละ 10 ดอก
บ้างด้วยด้าย หรือด้วยปอ กระทำให้เป็นกำดอกอุบล หรือเป็นกำดอกบัว
หลวง. การทำดอกไม้อย่างนั้น ไม่ควรทั้งสิ้น โดยนัยก่อนเหมือนกัน
แม้การที่จะเอาผ้ากาสาวะพันดอกอุบลเป็นต้น ที่พวกสามเณรถอนขึ้นวาง
*สารตฺถทีปนี 3/116 มตฺถกทามนฺติ ธมฺมาสนาทมตฺถเก ลมฺพกทามํ

ไว้บนบกให้เป็นห่อ ก็ไม่ควร. แต่จะเอาปอหรือก้านของดอกอุบลเป็นต้น
นั้นนั่นแหละ มัดเข้าด้วยกัน หรือกระทำให้เป็นห่อสะพาย ควรอยู่.
ที่ชื่อว่า ห่อสะพายนั้น คือพวกภิกษุรวบเอาชายทั้งสองข้างของ
ผ้ากาสาวะที่พาดไว้บนคอเข้ามาแล้ว ทำให้เป็นถุง (โป่งผ้า) ใส่ดอกไม้
ลงในถุงนั้น ดุจถุงกระสอบ นี้ ท่านเรียกว่า ห่อสะพาย. การกระทำ
ดอกไม้เช่นนั้น ควรอยู่. คนทั้งหลายเอาก้านแทงใบบัว แล้วเอาใบท่อ
ดอกอุบลเป็นต้น ถือไป. แม้ในวิสัยที่เอาใบอุบลเป็นต้น ห่อถือไปนั้น
จะผูกใบปทุมเบื้องบนดอกไม้ทั้งหลายเท่านั้น ควรอยู่. แต่ก้านปทุม ไม่
ควรผูกไว้ภายใต้ดอก (แต่การผูกก้านปทุมไว้ภายใต้ดอก ไม่ควร).
ที่ชื่อว่า ปูริมะ พึงเห็นในพวงมาลัย และดอกไม้แผ่น. อธิบายว่า
ผู้ใดเอาพวงมาลัยวงรอบเจดีย์ก็ดี ต้นโพธิ์ก็ดี ชุกชีก็ดี นำวกกลับมาให้
เลยที่เดิม (ฐานเดิม) ไป, แม้ด้วยการวงรอบเพียงเท่านั้น ดอกไม้ของ
ผู้นั้น ชื่อว่า ปูริมะ, ก็จะกล่าวอะไรสำหรับผู้ที่วงรอบมากครั้ง. เมื่อ
สอดเข้าไปทางระหว่างฟันนาค* (บันไดแก้ว). ปล่อยให้น้อยลงมา แล้ว
ตลบพันรอบฟันนาค (บันไดแก้ว) อีก แม้ดอกไม้นี้ ก็ชื่อว่า ปูริมะ.
แต่จะสอดวลัยดอกไม้เข้าไปในฟันนาค (บันไดแก้ว) สมควรอยู่.
คนทั้งหลาย ย่อมทำแผงดอกไม้ (ดอกไม้แผ่น) ด้วยพวงมาลัย.
แม้ในวิสัยดอกไม้เเผงนั้น จะขึงพวงมาลัยไปเพียงครั้งเดียว ควรอยู่.
เมื่อนำย้อนกลับมาอีก จัดเป็นการร้อยวงทีเดียว. ดอกไม้ชนิดนั้น ไม่
ควรทุกอย่าง โดยนัยก่อนเหมือนกัน. ก็การได้พวงดอกไม้ที่เขาทำด้วย
พวงมาลัยแม้เป็นอันมากแล้ว ผูกไว้เบื้องบนแห่งอาสนะเป็นต้น ควรอยู่.
* นาคทนฺตกํ แปลว่า ฟันนาค, บันไดแก้ว, และกระจังก็ได้.

ก็การเอาพวงมาลัยที่ยาวมากขึงไป หรือวงรอบไปครั้งหนึ่งแล้ว (เมื่อถึง
เงื่อนเดิม) อีก ให้เเก่ภิกษุอื่นเสีย สมควรอยู่. แม้ภิกษุนั้น ก็ควรทำ
อย่างนั้นเหมือนกัน.
ที่ชื่อว่า วายิมะ พึงเห็นในดอกไม้ตาข่าย ดอกไม้แผ่น และ
ดอกไม้รูปภาพ. เมื่อภิกษุกระทำตาข่ายดอกไม้ แม้บนพระเจดีย์เป็นทุกกฏ
ทุก ๆ ช่องตาข่ายแต่ละตา. ในฝาผนัง ฉัตร ต้นโพธิ์ และเสาเป็นต้น
ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน. ก็การที่ภิกษุจะร้อยกรองแผงดอกไม้เเม้ที่คนอื่น
ทำให้เต็มแล้ว ก็ไม่ได้. คนทั้งหลายย่อมกระทำรูปช้างและรูปม้าเป็นต้น
ด้วยดอกไม้ที่ร้อยคุมทั้งหลายนั่นแล. แม้รูปช้างและรูปม้าเป็นต้นเหล่านั้น
ก็ตั้งอยู่ในฐานแห่ง วายิมะ ดอกไม้นั้น ย่อมไม่ควรทั้งสิ้น โดยนัยก่อน
เหมือนกัน.
แต่เมื่อจะวางดอกไม้ (ตามปกติไม่ได้ร้อย) ในตอนที่คนเหล่าอื่น
ทำไว้แล้ว กระทำแม้ให้เป็นรูปช้างและรูปม้าเป็นต้น ควรอยู่. แต่ใน
มหาปัจจรี ท่านกล่าวบุปผวิกัติไว้ 8 ชนิด รวมกับพวงพู่ห้อย และพวง
ดังพระจันทร์เสี้ยว. บรรดาพวงพู่ห้อยและพวงดังพระจันทร์เสี้ยวนั้น
พวงห้อยที่เป็นพู่ในระหว่างพวงพระจันทร์เสี้ยว ท่านเรียกชื่อว่า กลัมพกะ
(พวงพู่ห้อย). การวงรอบพวงมาลัยกลับไปกลับมา (อันเขาทำ) โดยอาการ
ดังพระจันทร์เสี้ยว ท่านเรียกชื่อว่าอัฑฒจันทกะ (พวงพระจันทร์เสี้ยว).
แม้ดอกไม้ทั้งสองชนิดนั้น ก็จัดเข้าในปูริมะ (ร้อยวง) เหมือนกัน. ส่วน
ในกุรุนที ท่านกล่าวว่า แม้การจัดพวงมาลัยสองสามพวงเข้าด้วยกัน
แล้วทำให้เป็นพวงดอกไม้ ก็ชื่อว่า วายิมะ เหมือนกัน. แม้การทำพวง
ดอกไม้นั้นในมหาอรรถกถานี้ ก็จัดเข้าในฐานแห่ง ปูริมะ เหมือนกัน.

และมิใช่แต่พวงดอกไม้อย่างเดียวเท่านั้น, พวงดอกไม้ทำด้วยแป้งก็ดี
พวงดอกไม้ทำคล้ายลูกคลีก็ดี พวงดอกไม้ที่ทำคล้ายฟันสุนัข1 (ที่ทำด้วย
ไม้ไผ่ก็ว่า) ซึ่งท่านกล่าวไว้ในกุรุนทีก็ดี พวกภิกษุก็ดี พวกภิกษุณีก็ดี
จะทำเอง ก็ไม่ควร จะใช้ให้ทำก็ไม่ควร เพราะสิกขาบทเป็นสาธารณ-
บัญญัติ. แต่จะกล่าวถ้อยคำที่เป็นกัปปิยะ มีการบูชาเป็นเครื่องหมาย
สมควรทุก ๆ แห่ง. ปริยาย โอภาส และนิมิตกรรม สมควรทั้งนั้นแล.

[ว่าด้วยความประพฤติอนาจารต่าง ๆ]


บทว่า ตุวฏฺเฏนฺติ แปลว่า ย่อมนอน.
บทว่า ลาเสนฺติ มีความว่า พวกภิกษุอัสสชิและปุนัพพสุกะนั้น
ลุกขึ้นดุจลอยตัวอยู่เพราะปีติ แล้วให้นางระบำผู้ชำนาญเต้นรำ ร่ายระบำ
รำฟ้อน คือ ให้จังหวะ (ร่ายรำ).2
สองบทว่า นจฺจนฺติยาปิ นจฺจนฺติ มีความว่า ในเวลาที่หญิงฟ้อน
ร่ายรำอยู่ แม้ภิกษุพวกอัสสชิและปุนัพพสุกะนั้น ก็ร่ายรำไปข้างหน้า
หรือข้างหลังแห่งหญิงฟ้อนนั้น.
สองบทว่า นจฺจนฺติยาปิ คายนฺติ มีความว่า ในขณะที่หญิงฟ้อน
นั้นฟ้อนอยู่ พวกภิกษุเหล่านั้น ย่อมขับร้องคลอไปตามการฟ้อนรำ. ใน
ทุก ๆ บท ก็มีนัยอย่างนี้.
1.อตฺถโยชนา 1/501 ขรปตฺตทามนฺติ สุนขทนุตสทิสํ กตปุปฺผทามํ,เวฬาทหิ กตปุปฺผทา-
มนฺติปิ เกจิ. แปลว่า พวงดอกไม้ที่ทำคล้ายฟันสุนัข ชื่อขรปัตตาทามะ,อาจารย์บางพวก
กล่าวว่า พวงดอกไม้ทำด้วยไม้ไผ่เป็นต้น ก็มี.
2.สารัตถทีปนี 3/118 แก้ไว้ว่า แสดงนัยยิ่ง ๆ มีอธิบายว่า ประกาศความประสงค์ของตน
แล้วลุกขึ้นแสดงอาการฟ้อนรำก่อน ด้วยกล่าวว่า ควรฟ้อนรำอย่างนี้ แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
สอดนิ้วมือเข้าปาก ทำเสียง หมุนตัวดุจจักร ชื่อว่า ให้ เรวกะ-ผู้ชำระ.